จากวัฒนธรรมแบบล้านนาที่ไม่คิดว่ามีอยู่ในจังหวัดภาคกลาง อ.ทรงชัยได้เก็บรักษาของเก่า บ้านทรงไทยแบบล้านนานี้ไว้ และทำเป็น Home stay เพื่อรักษาและแสดงถึงบรรยากาศ การอยู่อาศัยแบบสมัยก่อน เหตุผลหนึ่งที่อ.ทรงชัยเลือกทำเช่นนี้ก็เพราะ ปัจจุบันบ้านเรือน การอยู่อาศัย วิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากแต่เดิม กลายเป็นอาคารคอนกรีต ปูกระเบื้อง ทั้งรัฐและคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจที่จะเก็บรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ อ.ทรงชัยจึงทำเพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบทอดต่อไป
บ้านแต่ละหลังที่อ.ทรงชัยเก็บสะสมไว้นั้นมีอายุมากกว่า 100 ปี บางหลังสร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 บริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยต้นไม้ มีไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตแบบเดิมของไทย รวมถึงลานดินหน้าบ้านและสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
อ.ทรงชัยใช้เวลาปรับปรุงที่นาเดิมจนมาเป็นแบบปัจจุบันเป็นระยะเวลา 50 ปี โดยใช้การสังเกตและหาข้อมูลจากการใช้ชีวิตของชาวบ้าน มารวมเอาไว้ในที่ดินแปลงนี้ เช่น การจัดวางแคร่หน้าบ้าน การทำให้เกิดบรรยากาศแบบสมัยก่อน ความเรียบง่ายและความพอเพียง เป็นต้น
ฝั่งตรงข้ามของที่ดินแห่งนี้อ.ทรงชัยได้ทำเป็นศูนย์วัฒนธรรมไทญวณขึ้นมา เป็นอาคารไม้ประกอบ สามารถถอดออกมาซ่อมแซมและขนย้ายได้ และยังสามารถนำส่วนประกอบของเรือนอื่นมาใช้ทดแทนกันได้หากมีส่วนใดเสียหรือพังไป ซึ่งทำให้เห็นว่าบ้านไทยสมัยก่อนนั้นก็มีการคิดเป็นระบบ modular เช่นกัน
อาคารไทญวณจะอยู่ติดริมตลิ่งและมีการยกระดับพื้นขึ้นสูงจากระดับน้ำ แล้วค่อยๆลดระดับตัวอาคารต่างกันไป เนื่องจากตลิ่งมีความลาดชันมากจึงไม่ปลอดภัยที่จะสร้างอาคารไว้ระดับเดียวกับพื้นตลิ่ง
ในที่ดินมีการนำ lacdscape มารวมเข้ากับอาคาร เป็นการสร้างอาคารสอดแทรกไปกับต้นไม้ทำให้มีบรรยากาศร่มรื่น มีการเว้นที่ไว้ตรงกลางเพื่อใช้เป็นลานกิจกรรม เป็นลักษณะ space แบบไทย คือ มีใต้ถุนสูง อาคารอยู่เป็นหมู่รวมกัน มีศาลากลางแจ้งในพื้นที่และมีลานร่วมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น