ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Assignment #4 Professional Practice 53


Assignment #4 Professional Practice 53


สัมภาษณ์รุ่นพี่สถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง



ข้าพเจ้าก็ได้ติดต่อรุ่นพี่สถาปัตย์ฯ โดยได้รับเกียรติจากรุ่นพี่รุ่นที่ 26 ให้สัมภาษณ์และสอบถามถึงเรื่องต่างๆ เช่น ประวัติการทำงาน และคำแนะนำในการปฏิบัติอาชีพ :)


รุ่นพี่ที่ข้าพเจ้าได้ไปสัมภาษณ์นั้น ชื่อ พี่สุวิทย์ วิเศษสินธุ์ รหัส 26 รุ่นที่ 26 ชื่อภาคคือ "กึ๋ย"

ข้าพเจ้าเดินทางไปยังบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ฝ่าย Shop drawing ประมาณ 10 โมงเช้าแล้วได้เข้าพบเพื่อทำการสัมภาษณ์




หน้าตากรุ้มกริ่มกันมากๆ

ประวัติพี่สุวิทย์

      - เรียนจบเมื่อพ.ศ. 2530 เป็นรุ่นที่ 26 

      - เริ่มทำงานที่บ.อิคิสติกค์ เป็นเวลา 2 ปี ทำหน้าที่ออกแบบอาคารพวกโรงงาน สถานที่ราชการ โดยทำงานด้านออกแบบอย่างเดียว
      - เข้าทำงานบริษัทไทเซอิ เป็นบ.รับเหมาของญี่ปุ่น 3 ปี ทำหน้าที่ดูแล Shop drawing และควบคุมงาน Interior งานที่ร่วมทำคือ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ, แกรนด์ อัมมริน ทาวเวอร์

  

            - เข้าทำงานบ.คริสเตียนแอนด์นีลเซน เป็นบ.ต่างชาติที่คนไทยซื้อต่อ ทำอยู่ประมาณ 4 ปี โดยทำหน้าที่เป็นผู้รับเหมา เนื่องจากรายได้ดีกว่าบ.ก่อน โครงการที่รับผิดชอบ เช่น สนามกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ สระว่ายน้ำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพวกงานโครงการเล็กๆ เช่น โรงงาน ที่พักอาศัย เป็นต้น

      - ต่อมาย้ายมาบ.ปาล์มเมอร์ แอนด์เทอร์เนอร์ ซึ่งเป็นบ.ด้านการออกแบบ ทำหน้าที่เป็น Cousultant อยู่เป็นเวลา 5 ปี โครงการที่รับผิดชอบ เช่น โรงแรม All season แถวถนนวิทยุ

 


      - หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2548 ย้ายมาบ.อิตาเลียนไทยและทำงานอยู่จนถึงในปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็นนายช่าง Shop drawing เป็นหลัก


Shop drawing คืออะไร แล้วมีอุปสรรคในการทำงานบ้างหรือไม่??

     พี่สุวิทย์ : หน้าที่หลักๆของนายช่าง Shop drawing คือ ทำหน้าที่ตรวจเช็คแบบที่ทำให้ลูกค้าซึ่งต้องตรงกับที่ลูกค้าสั่งมา จะไม่มีการการแก้แบบเองโดยไม่แจ้งแก่ลูกค้า แต่ก็จะมีอุปสรรคในบางเรื่อง เช่น แบบที่ลูกค้าทำมานั้นไม่สามารถออกแบบได้จริง สร้างจริงไม่ได้ แล้วทางด้านเราก็ต้องหาทางแก้ อย่างลูกค้าออกแบบอาคารมา แล้วมีการยื่นพื้นออกไปโดยไม่มีคานยาวมาก ซึ่งในความเป็นจริงนั้นทำไม่ได้ หรือบางทีก็ต้องการระดับเพดานในห้องน้ำแค่ 2.80 เมตร แต่เมื่อทำงานระบบแล้วพื้นที่ไม่พอ เราก็ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจและหาทางแก้แบบ
             แต่ก็มีบางทีที่ก่อสร้างจริงไปแล้วมาพบทีหลังว่า แบบก่อสร้างตัวจริงไม่ละเอียด เนื่องจากฝ่ายตรวจเช็คแบบทำงานไม่ละเอียดรอบคอบ ก็มีการฟ้องร้องขึ้นศาล บางครั้งลูกค้าไม่พอใจนายช่างก็มีขอเปลี่ยนนายช่างใหม่ แล้วก็ปัญหาจิปาถะอื่นๆอีกมากมาย เช่น เรื่องเงิน เป็นต้น


ข้อคิดในการทำงานที่อยากฝากถึงรุ่นน้องสถาปนิกที่กำลังจะจบและกำลังเรียนอยู่หลายๆคน

     พี่สุวิทย์ : ก็อยากให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่กันมากๆ ต้องตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ อย่าใช้อารมณ์ในการทำงาน แล้วก็ควรจะมองโลกในแง่ดี ที่สำคัญที่สุดคือ อย่าลืมพักผ่อนกันให้มากๆ


ข้อแนะนำเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพแก่น้องๆ

     พี่สุวิทย์ : ก็เหมือนกับในหนังสือนั่นแหละ เราต้องมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เราทำอยู่ อะไรที่ไม่เหมาะสมไม่ถูกต้องเราก็ต้องท้วงติง อย่าปล่อยผ่านไป เพราะบางทีมุมมองของลูกค้ามันไม่กว้างเท่ากับสถาปนิก เพราะบางครั้งลูกค้าก็มองในด้านเชิงธุรกิจเกินไป ไม่มองในเรื่องการใช้งานจริง เรื่องภายนอกต่างๆ หรือกระทั่งในเรื่องของสิ่งแวดล้อม
อย่างเช่น บางทีลูกค้าจะก่อสร้างคอนโดมิเนียม ก็อยากให้ออกแบบห้องที่มีพื้นที่ต่ำสุดตามกฎหมายกำหนด ซึ่งจริงๆแล้วพอเราเข้าไปใช้งานจริงๆ มันอยู่ได้ลำบากเพราะมันแคบไป หรืออย่างพวกทางหนีไฟที่ต้องการตามกฎหมายพอดี มันก็ทำไม่ได้เพราะเราต้องคิดถึงเรื่องพื้นที่ของราวบันได การเว้นช่องระหว่างบันไดด้วย


สิ่งที่อยากฝากถึงน้องๆ

    พี่สุวิทย์ : จบมาเราก็อย่าไปเลือกงานมาก ควรจะมีเป้าหมายว่าอยากจะทำงานอะไร เราอยากไปทางด้านออกแบบหรือรับเหมาก่อสร้าง อย่างพี่เองก็ทำด้านรับเหมามานานจนลืมด้านออกแบบแล้ว เราควรจะเลือกว่าเราชอบด้านไหนมากที่สุดแล้วทำดู เมื่อทำได้ซักพักจนเราคิดว่าเราได้ประสบการณ์พอแล้ว เราก็ลองเปลี่ยนดูมาทำด้านอื่นบ้าง เราจะได้รู้ว่ามันเป็นยังไง อีกทั้งเราจะได้เจอคนอื่นๆอีกมากมาย ได้ทำงานจริงหลายๆอย่าง ซึ่งดีกว่าเราทำอยู่ด้านเดียว คิดเสียว่าออกมาดูโลกภายนอกบ้าง ดีกว่านั่งจับเจ่าอยู่แต่ในออฟฟิศ
           ส่วนเรื่องปริญญานั้น สมัยนี้แค่ปริญญาตรีก็คงไม่พอ เพราะจำนวนเด็กจบใหม่เยอะมาก การแข่งขันก็สูงตาม ถ้าเราจบปริญญาสูง โอกาสเราที่จะทำอะไรได้มากกว่าคนอื่นก็มีมาก แถมยังทำให้เราสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย

           








วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของญี่ปุ่น (CASBEE)

          หลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของญี่ปุ่น (CASBEE) Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency



     "อาคารสีเขียว" คืออะไร
   อาคารสีเขียว คือ การดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคาร ได้แก่ พลังงาน น้ำ และวัสดุ พร้อมด้วยการลดผลกระทบต่อผู้ใช้ทั้งทางด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยวิธีการคัดเลือกที่ตั้งอาคาร การออกแบบ การก่อสร้าง การใช้งาน การบำรุงรักษา และการรื้อถอนที่ดีกว่า ตลอดอายุการใช้งานของอาคาร

   ในประเทศที่ได้พัฒนาเรื่องอาคารสีเขียวไปมากแล้ว จะมีการจัดตั้งสภาอาคารสีเขียว (Green Building Council) ซึ่งจะเป็นตัวแทนของประเทศในการออกหลักเกณฑ์ และให้การรับรองอาคารสีเขียวภายในประเทศของตน ในปัจจุบันสภาอาคารสีเขียวของแต่ละประเทศได้รวมตัวกันจัดตั้งสภาอาคารสีเขียวโลก (World Green Building Council) ขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศจะมีระบบการประเมินอาคารสีเขียวที่แตกต่างกัน 


ตัวอย่างอาคารสีเขียว

ตัวอย่างอาคารสีเขียว



     ระบบประเมินทางสิ่งแวดล้อมของอาคาร
          ในประเทศต่างๆ ที่มีระบบประเมินทางสิ่งแวดล้อมของอาคาร จะมีชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป พร้อมกับมีแนวคิดและหลักการประเมินแตกต่างกันออกไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามแต่ละประเทศ ได้แก่
- LEED (The Leadership in Energy and Environment Design) ของสหรัฐอเมริกา
- BREEAM (The British Research Establishment Environment Assessment Method)ของอังกฤษ
- HK-BEAM (The Hong Kong Building Environmental Assessment Method) ของฮ่องกง
- NABERS (The National Australian Built Environment Rating System) ของออสเตรเลีย
- CASBEE (The Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency) ของญี่ปุ่น


ตารางตัวอย่างการเปรียบเทียบหลักการประเมินของแต่ละประเทศ

     ระบบ CASBEE หรือ Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency มีหลักการประเมิณโดยแบ่งการประเมิณออกเป็น 2 ภาคคือ ภาคคุณภาพ (Q-Quality) และ ภาคภาระ (L-Environmental Loading) แล้วคำนวณค่าดัชนีมาตรฐานอาคาร โดยนำค่า Q หารด้วย L

     ดังนั้นอาคารที่มีคุณภาพสูงสอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพอาคารที่กำหนด มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงานปลอดภัย คงทนมีคุณภาพ อากาศภายในอาคารที่ดีมีประสิทธิภาพในการใช้งานจะคำนวณได้ค่า Q สูง

     อาคารที่สร้างแล้วไม่ก่อให้เกิดมลภาวะในการก่อสร้าง มีการจัดการขยะของเสีย มีการนำเศษวัสดุกลับมาใช้ได้ มีการออกแบบที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ กลมกลืนกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เอื้อประโยชน์กับชุมชน ก็จะคำนวณได้ค่า L ต่ำ

     หากค่า Q สูง และค่า L ต่ำ ก็จะได้ค่าดัชนีที่สูง เมื่อนำไปกำหนดลงใน chart มาตรฐาน ก็จะสามารถระบุระดับมาตรฐานอาคารได้ว่าเป็น A B C หรือ S ซึ่ง S คือ sustainable building นับว่าเป็นระดับมาตรฐานสูงสุดซึ่งประเทศจีนได้นำวิธีการประเมินและกำหนดมาตรฐานนี้ในการก่อสร้างโครงการ Olympic 2008 เพื่อตอบสนองกับนโยบาย Green Olympic 2008

     ในประเทศญี่ปุ่นเอง ได้มีการนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ โดยรัฐมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน โดยการจัด
ให้มีโรงงานจัดการเศษวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ เช่น โรงงานผลิต particle board อิฐ และวัสดุอาคารจากเศษวัสดุการนำเศษคอนกรีตกลับไปทำซีเมนต์ ส่วนเศษเหล็ก พลาสติก นำกลับไปหลอมใหม่ มีการพัฒนาระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปที่มีเศษวัสดุน้อยวิธีการแบ่งภาคคุณภาพ Q และภาคภาระ L ใช้




     วิธีการกำหนดกรอบสมมติที่เรียกว่า Hypothetical boundary ในการประเมิน มีการกำหนดหัวข้อการประเมินดังนี้คือ

   Q 1 – สภาพแวดล้อมภายในอาคาร(Indoor Environment)

   Q 2 – คุณภาพการให้บริการ(Quality of Services)

   Q 3 – สภาพแวดล้อมรอบอาคาร(Outdoor Environment on Site)

   L 1 – พลังงาน(Energy)

   L 2 – ทรัพยากรและวัสดุ(Resources and Materials)

   L 3 – สภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ(Off-Site Environment)



    ผลของการประเมินสามารถนำมาแสดงในแผนภูมิเรดาร์ (radar chart) ซึ่งเป็นวิธีการแสดงที่ทำให้เห็น
ข้อบกพร่องในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งได้ทันที โดยหัวข้อที่บกพร่อง แผนภูมิในส่วนนั้นจะแหว่งไป อาคารที่ประเมินแล้ว
ค่อนข้างสมบูรณ์ในทุกด้าน

     ระบบการประเมิน
   การประเมินมาตรฐานอาคารดังที่ได้กล่าวแล้ว มีรายละเอียดของหัวข้อการประเมินดังต่อไปนี้

1 ภาคคุณภาพ Q (Building Environmental Quality and Performance)

   1.1 Q –1 สภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environment) เป็นส่วนที่พิจารณาถึงคุณภาพภายในอาคาร ได้แก่

   การควบคุมเสียงดัง (Noise and Acoustic) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับเสียงภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดี ได้แก่

   - ระดับเสียง (Noise) เป็นการควบคุมระดับเสียงสำหรับพื้นที่ต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
   - การป้องกันเสียง (Sound Insulation) เป็นการควบคุมระดับการป้องกันเสียงระหว่างพื้นที่ภายในอาคาร
   - การเก็บเสียง (Sound Absorption) เป็นการกำหนดให้มีการเก็บเสียงภายในพื้นที่ที่เหมาะสม ภาวะอากาศน่าสบาย (Thermal Comfort) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับอุณหภูมิ ความชื้นภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และการสร้างสภาวะอากาศที่น่าสบาย
   - การควบคุมอุณหภูมิ (Room Temperature Control) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับอุณหภูมิภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
   - การควบคุมความชื้น (Moisture Control) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับความชื้นภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
   - ชนิดของระบบปรับอากาศ (Type of Airconditioning System) เป็นการเลือกใช้ระบบปรับอากาศที่สามารถควบคุมสภาวะอากาศได้ดี



รูปแสดงผลการประเมินด้วยแผนภูมิแสดงค่า

รูปแสดงผลการประเมินด้วยแผนภูมิเรดาร์ 

     การให้แสงสว่าง (Lighting and Illumination) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับแสงสว่างภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดี
   - การใช้แสงธรรมชาติ (Daylighting) เป็นการนำแสงธรรมชาติมาใช้เพื่อให้เกิดคุณภาพภายในอาคารที่ดี ทำให้ผู้ใช้อาคารมีปฏิสัมพันธ์กับแสงภายนอกและมีการใช้แสงธรรมชาติเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขอนามัย
   - การป้องกันแสงจ้า (Anti-Glare Measures) เป็นการใช้แสงสว่างที่นุ่มนวล ป้องกันการรบกวนจากความจ้าของแสง
   - ระดับความสว่าง (Illumination Levels) เป็นการจัดให้ระดับของแสงสว่างเหมาะสมและกลมกลืนและป้องกันการที่แสงสว่างขัดกัน (light contrast)
   - การควบคุมระดับแสงสว่าง (Lighting Controllability) มีระบบการควบคุมแสงสว่างที่สะดวกกับการใช้งานและสอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงาน

     คุณภาพอากาศ (Air Quality) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่ดี และส่งเสริมการที่มีสุขอนามัยที่ดีสำหรับผู้ใช้อาคาร
   - การควบคุมแหล่งอากาศ (Sources Control) เป็นการควบคุมแหล่งของอากาศเสีย ตำแหน่งการระบายอากาศเสีย และการนำอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่อาคาร
   - ปริมาณการระบายอากาศ (Ventilation) เป็นการควบคุมปริมาณการระบายอากาศและอากาศบริสุทธิ์
   - แผนการจัดการ (Operation Plan) เป็นการจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร



     

     1.2 Q - 2 คุณภาพการบริการ (Quality of Service) เป็นส่วนของคุณภาพการให้บริการที่ดี และสร้างความพึงพอใจกับผู้ใช้อาคาร

     ความสามารถในการบริการ (Service Ability)
   - การใช้งาน (Functional and Workability) สามารถใช้อาคารได้โดยมีประโยชน์ใช้สอยตามต้องการ
   - ความสวยงาม (Mentality-Coziness) เป็นอาคารที่มีรูปแบบที่สวยงาม และมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม

     ความคงทน (Durability) เป็นการพิจารณาการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีความคงทน มีอายุการใช้งานที่เหมาะสม คุ้มค่า และไม่เป็นภาระกับการดูแลรักษาอาคาร
   - การป้องกันแผ่นดินไหว (Earthquake Resistance) สามารถป้องกันความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหว
   - การดูแลรักษา การปรับปรุง อายุการใช้งาน (DailyMaintenance-Updating-Frequency) ต้องการดูแลรักษาน้อย มีอายุการใช้งานยาวนาน

     ความยืดหยุ่นและการปรับการใช้ (Flexibility and Adaptability) เป็นการพิจารณาการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีความยืดหยุ่นกับการใช้งาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้งาน
   - การสำรองพื้นที่ (Space Margin) เป็นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีพื้นที่สำรองสำหรับการขยายตัวในอนาคต
   - การสำรองน้ำหนัก (Floor Load Margin) เป็นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีการสำรองน้ำหนักสำหรับการเปลี่ยนแปลงการใช้
   - การเปลี่ยนแปลงการใช้ (Adaptability of Facilities) เป็นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีความยืดหยุ่นกับการใช้งาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้งาน


     1.3 Q – 3 สภาพแวดล้อมโดยรอบอาคาร (Outdoor Environment on Site) เป็นส่วนของคุณภาพสภาวะแวดล้อมภายในพื้นที่โครงการ เพื่อมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้อาคาร โดยมีหัวข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

   การดูแลรักษาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Maintenance and Creation of Ecosystem) เป็นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ง่ายต่อการดูแลรักษาและการอยู่อาศัย

   ภูมิสถาปัตยกรรม (Townscape and Landscape) มีการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่สวยงามและสัมพันธ์กับสภาพภูมิสถาปัตยกรรมของเมือง

   ลักษณะท้องถิ่นและวัฒนธรรม (Local Characteristics and Culture)เป็นการพิจารณาการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่สอดคล้องกับลักษณะและวัฒนธรรมท้องถิ่น




2. ภาคภาระ L (Environmental Loading)
     เป็นส่วนของการประเมินผลกระทบของการก่อสร้างอาคารกับสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ โดยการมองภาพว่า การก่อสร้างอาคารเป็นภาระกับสภาพแวดล้อมชุมชน และเมืองอย่างไร

     2.1 L –1 การใช้พลังงาน (Energy)
   การใช้พลังงานเป็นหัวข้อสำคัญเป็นอันดับแรก เนื่องจากการใช้พลังงานสร้างภาระกับระบบสาธารณูปโภคต่อชุมชนต่อเมือง ต่อประเทศ และต่อสังคมโลกโดยรวม การใช้พลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สร้างผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านภาวะเรือนกระจกที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคร้ายต่าง ๆ รวมทั้งสร้างปัญหาจากความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าและเขื่อน ดังนั้น อาคารที่ดีในอนาคตจะต้องเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานหัวข้อการพิจารณาในเรื่องของการใช้พลังงานมี ดังนี้

    ภาระการทำความเย็น (Building Thermal Load) อาคารในปัจจุบันต้องใช้ระบบปรับอากาศ และหากมีการออกแบบที่ดี ระบบปรับอากาศไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ โดยมีปัจจัยในการพิจารณาดังต่อไปนี้คือ

   - ทิศอาคาร (Building Orientation) การกำหนดทิศของอาคารเพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดหรือการกำหนดให้ด้านสกัดหรือด้านทึบของของอาคารบังแดด จะช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคารได้
   - ภาระความร้อนจากหน้าต่าง (Thermal Load of Windows) ปริมาณพื้นที่กระจกหน้าต่าง การเลือกใช้กระจก การบังเงาให้กับกระจก เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันความร้อนจากแสงแดดเข้าสู่อาคาร
   - ฉนวนอาคาร (Insulation Level of Exterior Wall and Roof) อาคารที่ดีจะต้องมีการจัดทำฉนวนป้องกันความร้อนและความชื้นเป็นอย่างดี ทั้งที่ผนังอาคารและหลังคา

   การใช้พลังงานจากธรรมชาติ (Natural Energy Utilization) การประเมินมาตรฐาน ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศและธรรมชาติ และเห็นความสำคัญของการนำธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบและก่อสร้างอาคาร

   - การใช้พลังงานจากธรรมชาติทางตรง (Direct Utilization of Natural Energy) เช่น การนำแสงธรรมชาติมาใช้
การระบายอากาศตามธรรมชาติ
   - การใช้พลังงานจากธรรมชาติทางอ้อม (Indirect Utilization of Natural Energy) เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การใช้พลังงานจากลม

   ประสิทธิภาพของระบบวิศวกรรม (Efficiency in Building Systems) เป็นส่วนของการวางแผน การออกแบบ การก่อสร้าง โดยพิจารณาจากการออกแบบอาคารและระบบประกอบอาคารที่มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ ระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่มีประสิทธิภาพ การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ ระบบควบคุมการใช้อาคารที่มีประสิทธิภาพ การใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยดูจากประสิทธิภาพของระบบ อุปกรณ์และระบบวิศวกรรมเป็นสำคัญ ได้แก่ ระบบปรับอากาศ(HVAC system) ระบบระบายอากาศ (ventilation system) ระบบแสงสว่าง (lighting system) ระบบทำน้ำร้อน (water heating system) และระบบลิฟต์ (elevator system)

   ประสิทธิภาพการใช้ (Efficient Operation)
   - การตรวจสอบปริมาณการใช้พลังงาน (Monitoring) เป็นส่วนของการตรวจสอบและการวัดปริมาณการใช้พลังงาน โดยเกณฑ์ในการพิจารณาคือ ดัชนีค่าการใช้พลังงานต่อตารางเมตรต่อปีของอาคาร ในหน่วยของเมกะจูลต่อตารางเมตรต่อปี หรือกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี เป็นต้น
   - การบริหารจัดการ (Operational Management System) เป็นส่วนของการดำเนินการใช้อาคาร โดยพิจารณาจากโครงสร้างการบริหารและการจัดการอาคารที่ดีทำให้มีการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า


     2.2 L–2 การใช้ทรัพยากรและวัสดุ (Resources and Materials)
เนื่องจากทรัพยากรและวัสดุก่อสร้างล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยพลังงานและมีต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้มา ดังนั้น การนำทรัพยากรและวัสดุไปใช้ จะต้องนำไปใช้อย่างรู้คุณค่าและมีมาตรการจัดการกับเศษวัสดุที่เหลือ

   น้ำ (Water Resource)
   - การประหยัดน้ำ (Water Saving) เป็นการพิจารณาการบริหารและการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า
   - การพิจารณานำน้ำฝนและน้ำทิ้งมาใช้ให้เป็นประโยชน์ (Utilization of Rain Water and Gray Water) เป็นการพิจารณานำน้ำฝนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการบำบัดน้ำเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

   วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Materials) เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า และเป็นการลดภาระของขยะและของเสีย
   - การนำเศษวัสดุกลับมาใช้ (Use of Recycled Material) เป็นมาตรการเพื่อลดปริมาณขยะ และใช้วัสดุให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด
   - การใช้ไม้เป็นวัสดุธรรมชาติ (Use of Wood as Natural Materials) การใช้ไม้เป็นองค์ประกอบ นอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกของธรรมชาติแล้ว ไม้ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะตามมาโดยจะต้องมีการจัดหาไม้ที่ได้มาจากระบบการปลูกป่า และไม่ทำลายสภาพของป่า
   - การควบคุมการใช้วัสดุอันตราย (Use of Hazardous Materials) เป็นการพิจารณาเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุที่ปลอดภัย และการใช้วัสดุที่สามารถนำไปแปรรูปและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ไม่มีส่วนประกอบของวัสดุแอสเบสตอส และหลีกเลี่ยงการใช้โฟม ไม่ใช้วัสดุที่มีกลิ่นและไอระเหยที่เป็นพิษ
   - การใช้โครงสร้างอาคารเดิม (Reuse of Existing Skeleton) การที่สามารถใช้โครงสร้างอาคารเดิมได้ ทำให้ลดขยะจากการทำลายอาคารและรื้อถอนอาคาร และเป็นการใช้ประโยชน์จากของที่มีอยู่
   - การควบคุมขยะ (Waste Disposal) เป็นมาตรการดูแลจัดการขยะและเศษวัสดุในการก่อสร้างอาคาร
   - การหลีกเลี่ยงการใช้สาร CFCs และ Halons (Avoidance of CFCs and Halons) สารเหล่านี้ คือสารที่ทำลายชั้นโอโซนและทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก จึงแนะนำให้เลิกและไม่ใช้สารเหล่านี้อีกต่อไป



     2.3 L –3 สภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ (Off-Site Environment)เป็นส่วนที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลกระทบกับสภาวะแวดล้อมภายนอกพื้นที่โครงการที่จะมีผลกับชุมชนและเมือง

   มลภาวะทางอากาศ (Air Pollution)
   - มลภาวะทางอากาศ (Emissions of Air Pollutants) เป็นการควบคุมคุณภาพอากาศเสียที่ปล่อยออกจากโครงการ รวมทั้งผลกระทบของอากาศเสียกับภาวะเรือนกระจก
   - มลภาวะทางน้ำ (Emissions of Water Pollutants) เป็นการควบคุมคุณภาพน้ำเสียที่ปล่อยออกจากโครงการ
   - มลภาวะของดิน (Emissions of Soil Pollutants) เป็นการควบคุมคุณภาพของดินที่เกิดจากการแพร่กระจายของสารพิษ

   เสียงและกลิ่นรบกวน (Noise and Offensive Odors) เป็นการพิจารณาผลกระทบจากเสียงรบกวน และกลิ่นรบกวน
   - เสียงดังรบกวน (Noise Generation) เป็นการควบคุมเสียงรบกวน เช่น เสียงจากเครื่องจักร เครื่องปรับอากาศ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
   - กลิ่นรบกวน (Offensive Odors) เป็นการควบคุมกลิ่นรบกวน เช่น กลิ่นเหม็นจากน้ำเสีย กลิ่นเหม็นจากขยะ กลิ่นเหม็นจากสารเคมี

   ลม (Wind Damage) เป็นการพิจารณาผลกระทบของโครงการกับการเปลี่ยนแปลงของทิศทางลมที่จะมีผลกระทบทางลบกับบริเวณโดยรอบ

   แสงสว่าง (Light Damage) เป็นการพิจารณาผลกระทบของโครงการกับการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างที่จะมีผลกระทบทางลบกับบริเวณโดยรอบ

   การสะสมความร้อน (Heat Island Effect) เป็นการพิจารณาผลกระทบของโครงการกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เกิดจากการสะสมความร้อนที่จะมีผลกระทบทางลบกับบริเวณโดยรอบ


ตัวอย่างรายงานผลการประเมินมาตรฐานอาคาร

     
     ตัวอย่างรายงานผลการประเมินมาตรฐานอาคารดังต่อไปนี้ แสดงให้เห็นแผนภูมิเรดาร์ (radar chart) และสดมภ์ (column)แสดงคะแนนของการประเมินค่า Q-1, Q-2, Q-3, L-1, L-2, L-3 แล้วนำมาคำนวณหาค่า BEE หลังจากนั้น จึงนำไปกำหนดค่าลงในแผนภูมิแสดงค่า(rating chart) ทำให้สามารถระบุได้ว่าอาคารที่ถูกประเมินอยู่ในระดับ A B+ B- C หรือ (sustainable)


อ้างอิงจาก เวบไซต์ http://www.ibec.or.jp/CASBEE/
         เอกสารวิชาการ การประเมินระดับมาตรฐานอาคารยั่งยืน (Sustainable Building Assessment) เขียนโดย เกชา ธีระโกเมน




วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Pre trip - สระบุรี โกว โกว

ทริปจังหวัดสระบุรี :)


     จากวัฒนธรรมแบบล้านนาที่ไม่คิดว่ามีอยู่ในจังหวัดภาคกลาง อ.ทรงชัยได้เก็บรักษาของเก่า บ้านทรงไทยแบบล้านนานี้ไว้ และทำเป็น Home stay เพื่อรักษาและแสดงถึงบรรยากาศ การอยู่อาศัยแบบสมัยก่อน เหตุผลหนึ่งที่อ.ทรงชัยเลือกทำเช่นนี้ก็เพราะ ปัจจุบันบ้านเรือน การอยู่อาศัย วิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากแต่เดิม กลายเป็นอาคารคอนกรีต ปูกระเบื้อง ทั้งรัฐและคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจที่จะเก็บรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ อ.ทรงชัยจึงทำเพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบทอดต่อไป


  

          บ้านแต่ละหลังที่อ.ทรงชัยเก็บสะสมไว้นั้นมีอายุมากกว่า 100 ปี บางหลังสร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 บริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยต้นไม้ มีไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตแบบเดิมของไทย รวมถึงลานดินหน้าบ้านและสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
     อ.ทรงชัยใช้เวลาปรับปรุงที่นาเดิมจนมาเป็นแบบปัจจุบันเป็นระยะเวลา 50 ปี โดยใช้การสังเกตและหาข้อมูลจากการใช้ชีวิตของชาวบ้าน มารวมเอาไว้ในที่ดินแปลงนี้ เช่น การจัดวางแคร่หน้าบ้าน การทำให้เกิดบรรยากาศแบบสมัยก่อน ความเรียบง่ายและความพอเพียง เป็นต้น



  

  


     ฝั่งตรงข้ามของที่ดินแห่งนี้อ.ทรงชัยได้ทำเป็นศูนย์วัฒนธรรมไทญวณขึ้นมา เป็นอาคารไม้ประกอบ สามารถถอดออกมาซ่อมแซมและขนย้ายได้ และยังสามารถนำส่วนประกอบของเรือนอื่นมาใช้ทดแทนกันได้หากมีส่วนใดเสียหรือพังไป ซึ่งทำให้เห็นว่าบ้านไทยสมัยก่อนนั้นก็มีการคิดเป็นระบบ modular เช่นกัน



     อาคารไทญวณจะอยู่ติดริมตลิ่งและมีการยกระดับพื้นขึ้นสูงจากระดับน้ำ แล้วค่อยๆลดระดับตัวอาคารต่างกันไป เนื่องจากตลิ่งมีความลาดชันมากจึงไม่ปลอดภัยที่จะสร้างอาคารไว้ระดับเดียวกับพื้นตลิ่ง
     ในที่ดินมีการนำ lacdscape มารวมเข้ากับอาคาร เป็นการสร้างอาคารสอดแทรกไปกับต้นไม้ทำให้มีบรรยากาศร่มรื่น มีการเว้นที่ไว้ตรงกลางเพื่อใช้เป็นลานกิจกรรม เป็นลักษณะ space แบบไทย คือ มีใต้ถุนสูง อาคารอยู่เป็นหมู่รวมกัน มีศาลากลางแจ้งในพื้นที่และมีลานร่วมกัน